วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

การเปิด คำสั่ง ซื้อ/ขาย


การเปิด คำสั่ง ซื้อ/ขาย

การเปิด คำสั่ง ซื้อ/ขาย (Buy and Sell Order)
อย่างที่ทราบกันว่าใน Forex นั้นเราสามารถเล่นได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ดังนั้นจึงมีคำสั่ง ทั้ง Buy และ Sell แต่อย่าเข้าใจว่าการ Sell เป็นการขาย Order ที่ถืออยู่นะครับ การ Sell ก็คือการเปิดซื้อ Order เหมือนกันแต่เป็นการเล่นในด้านขาลง คือถ้าเปิด Sell ไว้ แล้วไปปิด(Close Order) ที่ราคาที่ต่ำกว่า ก็เป็นการทำกำไรนั่นเอง แต่หลายๆคงคนรู้กันอยู่แล้วล่ะ ไปดูวิธีการเปิด Buy หรือ Sell กันเลยครับ





จากรูปข้างบน จะมีวิธีการเปิด Order ได้สองวิธีคือ
1. กดปุ่ม New Order
2. คลิกขวาที่กราฟที่เราต้องการซื้อหรือขายเลือก เมนู Trading -> New Order (คีย์ลัดกด F9)
หลังจากทำ ข้อ 1 หรือ 2 แล้วจะได้หน้าต่างดังภาพด้านล่าง (กดที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่)





ถ้าเราเห็นว่ากราฟกำลังมีแนวโน้มจะลง (โดยใช้ Indicator ต่างๆในการวิเราะห์แล้ว) เราก็กด Sell หรือ ว่าถ้ากราฟราคากำลังขึ้นเราก็กด Buy นั่นเอง (อย่าสับสนว่าการ Sell เป็นการขาย Order ที่ถืออยู่นะครับการ Sell ก็ถือเป็นการเปิดซื้อ Order อย่างหนึ่งในทางขาลง ซึ่งเป็นจุดแตกต่างจากการเล่นหุ้นทั่วไปตรงนี้นี่เองที่ทำให้เราสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง) เมื่อคำสั่งซื้อหรือขายเสร็จก็จะได้หน้าต่างดังภาพด้านล่าง





ส่วนการขาย Order ที่ถืออยู่ เรียกว่าการ Close Order ไม่ว่าเรากด Buy หรือ Sell เมื่อมีกำไรแล้วเราจะปิดเราก็ต้องทำการ Close Order เหมือนกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

การปิดออร์เดอร์ที่เราทำการซื้อหรือขายไว้ (Close Order)






จากรูปด้านบนเมื่อต้องการที่จะปิด Order ไหนก็ให้เราคลิกขวาที่รายการนั้นแล้วเลือก Close Order แล้วเราจะได้หน้าต่างดังรูปด้านล่าง ให้กด Close ปุ่มสีเหลือง ก็เป็นการปิด Order นั้นๆเรียบร้อย

สุดยอด Forex Indicator “Fisher” บอกจุดกลับเทรน ช่วยให้เขียว 100% for MT4


สุดยอด Forex Indicator “Fisher” บอกจุดกลับเทรน ช่วยให้เขียว 100% for MT4

สวัสดีครับ กลับมาอีกครั้งหลังจากหายตัวไปหาอาวุธ ฝึกฝนเทคนิคและเคล็ดลับต่างๆ เป็นเวลานาน เพื่อใช้ในการต่อกรกับเจ้ามังกร Forex ที่เฝ้าขุมทรัพย์สีเขียวอันยิ่งใหญ่ บัดนี้ ผมพร้อมแล้วที่จะต่อกรกับเจ้ามังกร Forex เพราะผมมีอาวุธคือ แต่นแต้น! “Fisher Indicator” อินดี้หรือ Indicator ตัวนี้นั้นมีคุณสมบัติในการบอกเทรน “Trend” ของหุ้นตัวที่เราสนใจ โดยถ้า Trend Up แท่งกราฟจะแทงขี้นเป็นสีเขียว ถ้า Trend Down แท่งกราฟจะแทงลงเป็นสีแดง ง่ายนิดเดียวเอง

ต่อไปจะเป็นการสาธิตวิธีการใช้ “Fisher Indicator” ให้คุณได้เขียวกันทุกๆ ครั้งที่เข้า Trad แต่การจะใช้เพียง “Fisher Indicator” เป็นอาวุธเพียงอย่างเดียวเห็นจะไม่ได้ ผมจึงต้องใช้โล่และเกราะอีกสองชนิด เพื่อป้องกันไฟสีแดงร้อนจากเจ้ามังกร Forex โล่และเกราะที่ว่านั้นได้แก่ แต่นแต้น! Stochastic (Stoch) และ Commodity Channel Index (CCI) Indicator สองตัวนี้สำคัญเหมือนกันใช้เพื่อป้องกันการถูกหลอก หรือการตั้งจุด TP สูงไป

เอาล่ะมาเริ่มกันดีกว่า ก่อนอื่น! ดาวโหลด Fisher Indicator กันซะก่อน กดเบาๆ ที่นี่ จากนั้นนำไฟล์ที่โหลดมาไปใส่ไว้ที่ Folder: …\experts\indicators แล้วเปิดโปรแกรม MT4 เปิดหน้ากราฟของคู่เงินที่คุณจะเล่น แล้วเปิด Indicator ทั้งสามตัวที่ผมได้บอกไว้ Fisher, Stoch และ CCI

สำหรับ Stoch ให้ตั้งค่าตามนี้ %K period: 6, MA method: Simple ใส่เส้น Level 50 ลงไป นอกนั้นเหมือนเดิม
สำหรับ CCI ให้ตั้งค่าตามนี้ Period: 20, Apply to: Typical Price (HLC/3) ใส่เส้น Level 75 และ -75 ลงไป
สำหรับ Fisher ไม่ต้องปรับอะไรใช้ได้เลย
จงดูภาพต่อไปนี้




จะเทรดให้ได้กำไรด้วย Indicator Fisher ต้องทำตามสูตรนี้ถึงจะปลอดภัย การเทรดด้วยวิธีนี้นั้นจะเป็นการหาจุดกลับของเทรนแล้วเทรด ซึ่งเป็นหลักทั่วไปของการเทรด ไม่ใช่เทรดตามน้ำจะทำให้หาเป้าหมายไม่เจอ ถ้าตกรถก็ขอให้รอรถคันใหม่อย่าใจร้อน

จะเปิด Long Position ก็ต่อเมื่อ
1. กราฟแท่งล่าสุดของ Fisher เป็นสีเขียวแล้วเท่านั้น
2. เส้น CCI น้อยกว่า -75
3. เส้นเมนของ Stoch (เส้นสีเขียว) ต้องน้อยกว่า 50 ถ้าเข้าเงื่อนไขดังกล่าว Long ได้เลยไม่มีปัญหา

จะเปิด Short Position ก็ต่อเมื่อ
1. กราฟแท่งล่าสุดของ Fisher เป็นสีแดงแล้วเท่านั้น
2. เส้น CCI มากกว่า 75
3. เส้นเมนของ Stoch (เส้นสีเขียว) ต้องมากกว่า 50 ถ้าเข้าเงื่อนไขดังกล่าว Shot ได้เลยไม่มีปัญหา

เทรดตามเงื่อนไขครับไม่เข้าใจให้ดูรูป สูตรนี้ใช้ได้ผลดีกับทุกค่าเงิน และเล่นสั้นๆ ดูเฉพาะ time fame 15M 30M และ 1H เท่านั้น โดยดู 1H เป็นหลักแล้วคอยดูสัญญาณ จาก 15M ขึ้นมาเรื่อยๆ คุณสามารถใช้ Fibonacci ร่วมเพื่อหาจุด TP ได้ด้วย โดยส่วนตัวผมเล่น GBP/JPY ถ้าเข้าเงื่อนไขดังกล่าวแล้วล่ะก็ 50 จุดเป็นอย่างต่ำ แต่ต้องดูองค์ประกอบอื่นๆเช่น ข่าว ด้วย แต่จากประสบการณ์ที่ผมเทรดตามเงื่อนไขผมไม่เคยปิดติดลบเลยซักครั้ง เว้นก็ต่อเมื่อผมใจร้อนผิดวินัย เข้าในช่วงที่ยังไม่ครบเงื่อนไขนั่นแหละทำให้ผมปิดติดลบ แล้วอย่าลืมตั้ง stop loss ไว้ด้วยล่ะ

การเทรดต้องใจเย็น ต้องมีวินัย ไม่โลภ สำคัญใจของเราครับต้องมั่นคง อย่าเชื่อซิกใครง่ายๆ อย่าหลงไปเพราะคำพูดบางคำ ถ้ามันเข้าเงื่อนไขแล้ว ไม่นานมันจะต้องถึง TP ของเราครับ ถึงแม้จะมีการทดสอบจิตใจเด้งให้แดงอยู่เป็นพักๆ แต่อาจจะเป็นเพราะแรงข่าว หรือไม่ก็เพราะคนบางกลุ่มที่พยายามจะปั่นหุ้น แต่ยังไงสุดท้ายแล้วมันก็จะเป็นไปตามเงื่อนไขครับ

อินดิเคเตอร์บอก Trend และแนวรับแนวต้านขั้นเทพ Ichimoku Kinko Hyo


อินดิเคเตอร์บอก Trend และแนวรับแนวต้านขั้นเทพ Ichimoku Kinko Hyo

เคยมั๊ยครับ ที่เวลาคุณเทรดหุ้นด้วย MT4 แล้วคุณก็ทดลองเปิดอินดิเคเตอร์ไปเรื่อยๆ ดูว่าตัวไหนเป็นอย่างไร ตัวไหนน่าใช้บ้าง ปรากฏว่า คุณดันไปเจออินดิเคเตอร์ตัวหนึ่ง มีเส้นอะไรก็ไม่รู้ยั้วเยี้ยไปหมด ดูไม่รู้เรื่องเลย ถึงแม้ว่าจะพยายามทำความเข้าใจกับมัน โดยนั่งมองดูมันไปเรื่อยๆ สุดท้ายคุณก็ปิดมันไป โดยที่คิดไว้ในใจว่า “อินดิเคเตอร์อะไรวะดูไม่เห็นจะรู้เรื่องเลยวุ้ย -3- ” แต่ผมจะบอกคุณว่า อินดิเคเตอร์ที่มีหน้าตาไม่ค่อยรับแขกตัวนี้ มีอะไรดีๆ ที่ผมจะพาทุกท่านไปล้วงความลับของอินดิเคเตอร์ตัวนี้ ที่ทำให้คุณได้อึ้ง ทึ่ง และเขียว ไปพร้อมกันครับ ขอเชิญพบกับแขกรับเชิญของเราในวันนี้ได้เลยครับ Ichimoku Kinko Hyo

วิธีการใส่อินดิเคตอร์ตัวนี้ลงไปในกราฟของ MT4 ก็ง่ายๆ ครับ คลิ๊กเพิ่ม อินดิเคเตอร์ เลือก Oscillators > Ichimoku Kinko Hyo
สำหรับการตั้งค่านั้น ในตัวอย่างของผมจะตั้ง Tenkan-sen : 7 , Kijun-sen: 22 , Senkou Span B: 44 จากนั้นเมื่อใส่อินดิเคเตอร์ลงในกราฟแล้ว คุณจะเห็นว่า จะมีเส้นอยู่ 5 เส้น คือ
1. Tenkan-sen 2. Kijun-sen 3. Chinkou Span 4. Senkou Span A 5. Senkou Span B

ผมจะอธิบายวิธีการวิเคราะห์ของแต่ละเส้นก่อน โดยจะมีรูปตัวอย่างให้ดูด้วย จากนั้นค่อยวิเคราะห์รวมทั้ง 5 เส้นกัน

1. Tenkan-sen



เส้นนี้จะทำหน้าที่คล้ายๆ เส้น Fast MA คือเส้น Moving average ที่มี Period น้อย ในหลักการ MA Cross
หลักการวิเคราะห์
เมื่อราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น Tenkan-sen และ Tenkan-sen มีความชันเป็นลบ แสดงถึงสภาวะตลาดหมี และเมื่อราคาอยู่สูงกว่าเส้น Tenkan-sen และ Tenkan-sen มีความชันเป็นบวก แสดงถึงสภาวะตลาดกระทิง

2. Kijun-sen




เส้นนี้จะทำหน้าที่คล้ายๆ เส้น Slow MA คือเส้น Moving average ที่มี Period มากกว่า ในหลักการ MA Cross
หลักการวิเคราะห์
เช่นเดียวกับเส้น Tenkan-sen เมื่อราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น Kijun-sen และ Kijun-sen มีความชันเป็นลบ แสดงถึงสภาวะตลาดหมี และเมื่อราคาอยู่สูงกว่าเส้น Kijun-sen และ Kijun-sen มีความชันเป็นบวก แสดงถึงสภาวะตลาดกระทิง และในส่วนของเส้น Kijun-sen ที่มีความชันเป็นศูนย์ หรือช่วงที่เส้นขนานกับแนวนอน ในช่วงใดๆ สามารถนำราคาช่วงนั้นมาเป็นแนวรับหรือแนวต้านได้ ยิ่งช่วงที่เส้น Kijun-sen ที่มีความชันเป็นศูนย์ มีความยาวมากเท่าไหร่ แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของแนวรับหรือแนวต้าน ตรงช่วงราคานั้นมากเท่านั้น

เมื่อนำ Tenkan-sen และ Kijun-sen มาอยู่ด้วยกัน




ลักษณะของมันก็จะคล้ายๆ กับใช้ MA สองเส้นเลยทีเดียว จะสังเกตเห็นว่า ราคาจะชนเส้น Kijun-sen ที่มีความชันเป็นศูนย์บ่อยๆ แสดงให้เห็นว่า เส้น Kijun-sen สามารถใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านได้ และเมื่อราคาอยู่ในช่วงระหว่างเส้น Tenkan-sen และ Kijun-sen จะเห็นว่าสภาพตลาดมีลักษณะไซด์เวย์

3. Chinkou Span




สำหรับเส้น Chinkou Span นี้ไม่มีอะไรมากเป็นเพียงเส้น MA 1 ของราคาปัจจุบันที่ถูก shift ไปอยู่ในอดีต เพื่อศึกษาอดีตมาพยากรณ์ปัจจุบัน

หลักการวิเคราะห์
จากรูปจะเห็นว่าเมื่อเส้น Chinkou Span ตัดกราฟราคาในอดีตขึ้น สะภาพตลาดจะอยู่ในตลาดกระทิง ในทางกลับกัน ถ้าเกิด Chinkou Span ตัดกราฟราคาในอดีตลง สะภาพตลาดจะอยู่ในตลาดหมี

4. Senkou Span A + 5. Senkou Span B




สำหรับสองเส้นนี้เราจะใช้คู่กันไป จากที่เห็นในช่วงที่เป็นสีระหว่างทั้งสองเส้นนั้น เราจะเรียกมันว่าเมฆ เจ้าเมฆนี่จะยื่นออกไปข้างหน้าในอนาคตที่ยังไม่เกิด เพื่อทำนายสะภาพตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

หลักการวิเคราะห์
เมื่อราคาอยู่เหนือเมฆหมายถึงสะภาพตลาดกระทิง เมื่อราคาอยู่ใต้เมฆหมายถึงสะภาพตลาดหมี และเมื่อราคาอยู่ในเมฆหมายถึงสะภาพตลาดไซด์เวย์ และเราสามารถใช้ เมฆเส้น Senkou Span B ที่มีความชันเป็นศูนย์คือเป็นเส้นตรงในแนวราบ แทนแนวรับแนวต้านได้เช่นเดียวกับ Kijun-sen แต่จะมีนัยสำคัญน้อยกว่าเส้น Kijun-sen
เช่นเดียวกับเส้น Kijun-sen ยิ่งมีความยาวของเส้นในแนวราบมากเท่าไหร่ ความแข็งแกร่งของแนวรับแนวต้านช่วงราคานั้นยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จากรูปเมื่อเมฆมีการบีบตัวให้แคบลง เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า เทรนปัจจุบันกำลังจะเปลี่ยนแล้ว

เมื่อรู้จักทุกส่วนของ Ichimoku Kinko Hyo กันแล้ว จากนี้ผมจะนำทุกส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน และจากนั้นเราจะมาดูวิธีการเข้าทำกำไรกันครับ




หลักการเขาทำกำไร (วิธีที่ผมใช้)
-เปิด Long Position เมื่อ
ราคาเปิดเหนือเส้น Kijun-sen และเส้น Chinkou Span อยู่เหนือกว่าราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน และถ้าเข้าเมื่อราคาปิดเหนือ Kijun-sen ไม่ทัน คุณสามารถ เปิดได้อีกครั้งเมื่อ ราคาเปิดเหนือเส้น Senkou Span B (เมฆ) และเส้น Chinkou Span อยู่เหนือกว่าราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน
-เปิด Short Position เมื่อ
ราคาเปิดใต้เส้น Kijun-sen และเส้น Chinkou Span อยู่ใต้ราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน และถ้าเข้าเมื่อราคาเปิดใต้ Kijun-sen ไม่ทัน คุณสามารถ เปิดได้อีกครั้งเมื่อ ราคาเปิดใต้เส้น Senkou Span B (เมฆ) และเส้น Chinkou Span อยู่ใต้ราคาในอดีต 22 ช่วงจากปัจจุบัน

สำหรับการตั้ง TP และ SL นั้น เราสามารถใช้แนวรับแนวต้านต่างๆ ที่เส้น Kijun-sen และเส้น Senkou Span B ทำเอาไว้เป็นTP ได้ ส่วน SL นั้นเราต้องตั้ง ให้อยู่เลยแนวรับแนวต้านไปซัก 5-8 จุด เพื่อป้องกันการง้างธนู (ย้อนกลับมาเด้งแนวรับแนวต้านอีกที เพื่อเอาแรงก่อนจะพุ่งด้วยแรงมหาศาล) เพราะว่าชื่อก็บอกว่าแนวรับแนวต้าน ยังไงราคามันก็ต้องมาชนอยู่ดี

เอาล่ะเรามาดูว่าเกิดอะไรขึ้นต่อจากภาพที่ 1 ดีกว่า



จะเห็นว่าเข้าเงื่อนไขการเปิด Long Position ณ จุดที่ผมวงกลมไว้ และ TP กับ SL จะอยู่ ในส่วนที่ผมขีดเส้นไว้ จะเห็นว่าส่วนนั้นเป็นส่วนที่ สองเส้นสำคัญ Kijun-sen และเส้น Senkou Span B ได้มีการสร้างแนวรับแนวต้านเอาไว้ จากระยะครั้งนี้ ถ้าเข้าซื้อคุณสามารถทำกำไรได้ 20 จุด

หวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์กับหลายๆ คนนะครับ และต้องขอขอบคุณ kharvell หรือ Kevin แห่ง Forexfactory ที่บทความของเขาเรื่องวิธีใช้ Ichimoku Kinko Hyo นั้นทำให้ผมเขาใจอินดิเคเตอร์ตัวนี้ได้มากขึ้น ต้องบอกว่าถ้าคุณอ่านบทความของเขาได้ จะดีกว่าอ่านบทความนี้ที่ผมเขียนซะอีก เพราะเขาอธิบายละเอียดมาก มีอีกหลายเรื่องที่ผมไม่ได้เขียนไว้ เนื่องจากมันเยอะมากผมจึงอธิบายแค่คล่าวๆ ยังไงซะ แค่นี้ก็อาจจะทำให้หลายๆ คนพอจะเข้าใจอินดิเคเตอร์ตัวนี้ขึ้นมาบ้างล่ะ และขอให้รู้ตัวไว้เลยนะว่า ตอนนี้คุณเทพแล้ว เพราะว่าคุณสามารถเข้าใจอินดิเคเตอร์ขั้นเทพตัวนี้ได้

Money Management : บริหารความเสี่ยง!


Money Management : บริหารความเสี่ยง!

เพื่อนักเล่นหุ้น : คุมต้นทุน บริหาีรความเสี่ยง!


………………………………….................................................



Money Management


สวัสดีครับ วันนี้ผมมีอีกแง่มุมหนึ่งเพื่อใครที่ยังไม่เคยฉุกคิดสนใจ ถึงการใช้ Money Management เข้ามาช่วยในการเล่นหุ้น แต่ไหนแต่ไร เรามักจะได้ยินคนส่วนใหญ่พูดถึงกันว่า Money Management ไม่ ใช่เรื่องสำคัญสำหรับนักเล่นหุ้นรายย่อย แต่ผมเห็นกลับกันว่า นี่เป็นความคิดที่ผิดที่สุดที่จะผิดได้ และสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นความเชื่อของนักลงทุนส่วนใหญ่ไปแล้วด้วยว่า ความลับที่สำคัญที่สุดในการเล่นหุ้นอยู่ที่การเลือกหุ้นให้แม่นยำที่สุด ผมยอมรับว่าความแม่นยำเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ตลาดหุ้นเป็น “ความน่าจะเป็น” ไม่มีทางที่เราจะถูกทางทุกครั้งแน่นอน มีคนพูดบ่อยๆว่า นักเล่นหุ้นทางเทคนิค “กำไรมา 9ครั้ง แต่ผิดครั้งเดียวเจ๊ง!” ผมมีวิธีแก้ครับ

คำถามที่ควรถามนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่า “จะเลือกหุ้นอย่างไรให้ แม่นๆ ?” แต่อยู่ที่ว่า “จะทำอย่างไรให้มีกำไรถึงแม้จะเลือกหุ้นได้ไม่แม่น ?” นี่คือสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรุ้จากการเล่นหุ้นก็คือ “เมื่อเก็งผิดต้องเจ็บตัวน้อย เมื่อถูกทางต้องได้เยอะ” นี่แหละครับสูตรง่ายๆแต่ได้ผลจริง แค่เราทำข้อแรกได้ นั่นคือเมื่อเก็งผิดเราต้องเจ็บตัวน้อย ผลรวมของกำไรและขาดทุนของเราจะเปลี่ยนไปทันที ผมมีตัวอย่างง่ายๆให้ดูนะครับ

จากสถิติแล้วค่าเฉลี่ยความแม่นยำของนักเล่นหุ้นทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 62.5% (อ้างอิงจากหนังสือ Better Stock Trading ครับเรื่องจริงอาจน้อยกว่านี้) นั่นหมายความว่า จากการเทรดหุ้น 16 ครั้งเรามักจะถูกประมาณ 10 ครั้ง สัดส่วนนี้ดูจะเข้าท่าอยู่นิดหน่อย หากเป็นนักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ก็อาจจะพอใจ หากใครอยากได้กำไรเพิ่มก็จะพยายามหาความรู้ในการเลือกหุ้นเพิ่มเติม แต่นั่นเป็นการทำงานหนักแต่ไม่ฉลาดเท่าไหร่ครับ! เราสามารถทำกำไรเพิ่มเติมได้ โดยไม่ต้องเพิ่มความแม่นยำของเราขึ้นเลยแค่ เพียงเรา ควบคุมต้นทุนและลดการขาดทุนจำกัดความเสี่ยงโดยรวมของ Portfolio จากการเทรดหุ้นในแต่ละครั้งลงไป โดยทำการประเมิน Position Sizing หรือจำนวนหุ้นให้เหมาะสม เราจะสามารถเห็นผลความแตกต่างได้ทันทีอย่างในตารางนี้ครับ






เริ่มเห็นแสงสว่างเล็กๆขึ้นกันบ้างหรือยังครับ สำหรับคนที่เชื่อว่า Money Management ไม่สำคัญขนาดที่ควรจะต้องใส่ใจ เราจะสามารถเห็นได้เลยว่า ยิ่งเราขาดทุนต่อครั้งเยอะเท่าไหร่ ผลรวมของกำไรขาดทุนจะยิ่งแย่ลงไป นี่ขนาดว่า เราเล่นถูกทางถึง 62.5% หรือเกือบ 3ใน4 ครั้ง หากแค่เราขาดทุนครั้งละ 10% ของ Portfolio เราจะขาดทุนอย่างมากมาย แต่เมื่อเราลดหรือควบคุมการขาดทุนในแต่ละครั้งขึ้นมา ใน ตัวอย่างจะเห็นว่า ถ้าเรากำหนดความเสี่ยงว่าเราจะขาดทุนไม่เกิน 2% ของ Portfolio ในการเทรดหุ้นแต่ละครั้ง ผลกำไรโดยรวมของพอร์ทจะดีขึ้นเรื่อยๆ ที่มา แมงเม่าคลับ.คอม


สมมุตรว่าคุณ มีเงินอยู่ $10000 และคุณเสียไป $5000 คุณเสียไปทั้งหมดกี่เปอร์เซนต์ คำตอบคือ 50 เปอร์เซนต์ แล้วคุณต้องทำกี่เปอร์เซนต์
เงิน $5000 ของคุณ ถึงจะกลับไปเท่าเดิมคือ $10000 คุณต้องทำถึง 100 เปอร์เซนต์ ไม่ใช่ 50 เปอร์เซนต์ เค้าเรียกว่า Drawdown จะเห็นว่ามันน่าหงุดหงิดมาก เพราะมันง่ายมากในการเสียไป แต่ได้กลับคืนมาเท่าเดิมนั้น ยากกว่า ซึ่งผู้อ่านคงไม่คิดที่จะเสีย เทรดเดียว 50 เปอร์เซนต์ ผมหวังว่าเป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเทรดเสีย 3, 4 หรือ 10 เทรดติดกันล่ะ มันดูเหมือนจะเกิดได้ยากถ้าคุณคิดว่าคุณมี trade system ที่มีเปอร์เซนต์ชนะ 70 เปอร์เซนต์
ดังนั้นคุณไม่มีทางเสีย ติดต่อกันได้ถึง 10 ครั้ง ถ้าคุณคิดว่าคุณมี Trade system ที่ดี ในการเทรด Trade system ที่ทำ profitable ได้ 70 เปอร์เซนต์ ดูเหมือนเป็น system ที่ดีมาก แต่มันไม่ได้หมายความว่า ใน100 เทรดคุณจะชนะ 70เทรด
คุณจะ รู้ ได้อย่างไรว่า 70 ใน 100 เทรดจะชนะ คุณไม่มีทางรู้ได้ คุณ อาจจะเสีย 30 เทรดแรก แล้วไปชนะ 70 เทรดที่เหลือ ซึงยังให้ผลที่ 70 เปอร์เซนต์ แต่คุณก็คงเสียหายหนัก
จากตัวอย่างจะทำให้รู้ ว่า Money management นั้นสำคัญ ไม่ว่าคุณจะมี Trading System ดีสักเท่าไร แต่ก็ต้องมีที่คุณเสีย เหมือนผู้เล่น Poker มืออาชีพ ถึงเค้าจะเล่นเสียครั้งใหญ่ แต่สุดท้ายเค้าก็จะจบด้วยกำไร
ผู้ เล่น Poker เก่งๆจะฝึกฝน Money management เพราะเค้ารุ้ว่าไม่สามารถชนะได้ทุกเกมส์ เค้าจะเล่นด้วยจำนวนเงินที่น้อย จากเงินทั้งหมดที่เค้ามี มันสามารถทำให้เค้ารอดพ้นจากการเสียครั้งใหญ่ได้ นี่คือสิ่งที่คุณต้องทำในฐานะ trader เทรดใน เปอร์เซนต์ที่น้อยจากจำนวนเงินที่มีทั้งหมด เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
เมื่อคุณฝึกฝน และ เคร่งครัดกับ Money management คุณ จะเปลี่ยนจากนักพนัน กลายเป็นเจ้ามือ ที่จะทำกำไรได้ระยะยาว
รูปตัวอย่าง ความแตกต่างระหว่างคนที่เล่นเปอร์เซนต์น้อย และคนที่เล่นโดยใช้เปอร์เซนต์สูง
http://www.babypips.com/forex-school/money-management-4.html รูปที่ 1
คุณ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันมากระหว่าง การเล่น 2 เปอร์เซนต์เมื่อ เทียบกับ 10 เปอร์เซนต์ ของเงินทั้งหมดในการเทรดแต่ละครั้ง ถ้าคุณเสียติดต่อกัน 19 ครั้งการลงด้วยเงิน 10 เปอร์เซนต์ จะทำให้คุณเสีย 85 เปอร์เซนต์จากเงินทั้งหมด !!!! แต่การลงด้วยเงิน 2 เปอร์เซนต์ จะทำให้คุณเสียแค่ 30 เปอร์เซนต์ของมาจิ้นเท่านั้น แต่ มันคงเกิดขึ้นได้ยาก งั้นมาดูแค่การเสีย 5 ครั้งติดต่อกัน ถ้าคุณลง 2 เปอร์เซนต์คุณจะมีเงินเหลือ 18447 แต่ถ้าคุณลง 10 เปอร์เซนต์ จะเหลือเงินแค่ 13122 ซึ่งจะมากกว่าการเสีย ติดต่อกัน19 ครั้งของ การลง 2 เปอร์เซนต์ซะอีก!!!
จุดประสงค์ที่ยกขึ้นมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า การใช้ Money management เมื่อตอน drawdown คุณยังมีเงินทุนเหลือพอที่จะเล่นต่อไป คุณลองคิดว่าถ้าคุณเสีย 85 เปอร์เซนต์ของเงินทั้งหมด คุณต้องทำให้ได้ 566 เปอร์เซนต์ของเงินที่เหลือ เพื่อให้เท่าทุน คุณคงไม่อยากอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น
อันนี้คือตารางที่ จะทำให้คุณรู้ว่าจากการ ขาดทุน คุณต้องทำเท่าไรถึงจะเท่าทุน
http://www.babypips.com/forex-school/money-management-3.html รูปที่ 2
คุณจะเห็นว่า ยิ่งเสียมากมันก็ยากที่จะ ทำให้มันกลับมาเท่าทุน นี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ Money management Risk to reward
เป็นการเทรดที่ อัตราส่วนอยู่ที่ 3 ต่อ 1 คือ Winner trade ต้องมากกว่า 3 เท่าจาก looser trade ถ้าเทรด แพ้ และ ชนะ สลับกัน
Profitable trade จะอยู่แค่ 50 เปอร์เซนต์ แต่เรามีกำไร นะครับ

แนวทางในการเทรด Forex เบื้องต้น 10 ข้อ


แนวทางในการเทรด Forex เบื้องต้น 10 ข้อ

General Trading Guidelines - หลักแนวทางในการเทรด Forex 10 ข้อ

1. Plan your trade and trade your plan - วางแผนการเทรด และเทรดตามแผนของคุณ: 

ในการเทรด ไม่ควรตัดสินตามอารมณ์ ความรู้สึกของคุณ ว่า ราคาน่าจะขึ้น ราคาน่าจะลง แล้วเปิดคำสั่งเทรด คุณจำเป็นต้องมีแผนในการเทรดเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ แผนการเทรดที่ดี ควรประกอบด้วย 1.การกำหนดจุดเข้า หรือสัญญาณในการเข้าเทรด, 2.การกำหนดจุดตัดขาดทุน (Stop-Loss), 3.การกำหนดเป้าหมายกำไร (Target), 4.การวางแผนการเงิน (Money Management) จัดสรรเงินเทรด ให้เหมาะสม แผนการเทรดที่ดี จะช่วยให้คุณตัดอารมณ์ ออกจากการเทรด ช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งเครียด เวลาติดลบเยอะๆ ไม่ต้องถูกบังคับปิด เมื่อ Margin ของคุณหมด ตัวอย่างแผนการเทรด หรือระบบเทรด สามารถหาดูได้จาก เว็บ ForexFactory <-- คลิกที่นี่ ลองหาแผน หรือระบบเทรด ที่เหมาะสมกับคุณ ลองทดสอบระบบ เทรดตามระบบ ด้วยเงินปลอม อาจปรับปรุงให้เหมาะสม แล้วนำมาใช้ใน การเทรดของคุณ ไม่มีระบบไหนที่สมบูรณ์ 100% ไม่มีใครไม่เคยติดลบ ในตลาดนี้ครับ

2. The trend is your friend - เทรนคือเพื่อนของคุณ: อย่าคิดสวนเทรน หาจังหวะหรือสัญญาณ เพื่อ Buy/Long เมื่อตลาดอยู่ในภาวะ Bullish (เทรนขึ้น-กระทิงขวิดขึ้น) และ หาจังหวะ หรือสัญญาณ เพื่อเข้า Sell/Short เมื่อตลาดอยู่ในภาวะ Bearish (เทรนลง-หมีตะปบลง)

3. Focus on capital preservation - การรักษาเงินลงทุน : 
สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง เมื่อทำการเทรด ต้องรักษาเงินในบัญชีของคุณให้ดีู่ การเปิดคำสั่งเทรด แต่ละคำสั่ง ไม่ควรเกิน 10% ของเงินลงทุนที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเงินอยู่ในบัญชี $100 ในการเทรดแต่ละครั้ง ไม่เกิน $10 ถ้าไม่มีการรักษาเงินลงทุน เงินทุนอาจลดลงอย่างรวดเร็ว จนหมดและคุณอาจท้อ จนต้องเลิกไปเลย

4. Know when to cut loss - รู้ว่าเมื่อไหร่ต้องตัดขาดทุน: ถ้าราคาวิ่งตรงข้ามกับที่เทรดไว้ ควรปิดทิ้งแล้ว รอสัญญาณ หรือโอกาสในการเข้าใหม่ อย่าถือไว้โดย หวังว่าราคาจะวิ่งกลับมา ให้เราปิดทำกำไร การถือติดลบไว้ ทำให้คุณเสียโอกาส ในสัญญาณดีๆ และจะต้องมานั่งเครียด กลัว margin จะหมด ดังคำ "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" ถ้าเลวร้ายจริงๆ อาจถึง โดนสั่งปิดไปเลย ดังนั้น ก่อนทำการเทรด จึงควรหาจุด Stop-Loss จุดที่คุณต้องปิดทิ้ง เมื่อราคาวิ่งตรงข้าม จากที่คาดหมายไว้ โดยอาจกำหนดไว้ เลย เช่น -20 จุด หรือ -30 จุด หรืออาจดูจาก แนวรับ-แนวต้าน นำมาตั้งเป็นจุด Stop-Loss

5. Take profit when the trade is good - ปิดทำกำไรเมื่อได้โอกาส: ก่อนทำการเทรด ตั้งเป้าหมายไว้ ว่าต้องการกำไรเท่าไหร่ เมื่อได้โอกาส ก็ควรปิดเพื่อทำกำไร เป้าหมาย หรือ Target อาจกำหนดตายตัว ขึ้นอยู่กับความพอใจของเรา เช่น กำไร 20 จุด, กำไร 30 จุด, 50 จุด หรือกำหนดจาก แนวรับ-แนวต้าน หรืออาจใช้เครื่องมือช่วย เช่น Fibonacci หรือ Pivot Point เป็นตัวกำหนด

6. Be emotionless - ตัดอารมณ์ออกไป: 
2 อารมณ์ ที่มีผลมากในการเทรด คือ ความโลภ และความกลัว อย่าให้ความโลภ และความกลัว เข้ามามีผลต่อการเทรดของคุณ หมั่นฝึกฝน เทรดให้เป็นระบบ เทรดตามแผน หรือระบบเทรด ที่วางไว้ ตั้งจุดตัดขาดทุน (Stop-Loss), เป้าหมาย (Target) , บริหารเงินให้ดี คุณก็จะมีโอกาส ประสบความสำเร็จ ใน Forex ได้ครับ

7. Do not trade based on tips from other people - อย่าเทรดตามคนอื่น:เทรดตามระบบ ตามสัญญาณ หรือ ตามแผนที่วางไว้ อย่าเทรดตามคนอื่นโดยเด็ดขาด วิเคราะห์ให้ดีทุกครั้ง ก่อนการเข้าเทรด

8. Keep a trading journal - จดบันทึกการเทรด:เมื่อคุณเปิดคำสั่ง ซื้อ (ฺีัBuy/Long) ให้จด เหตุผลว่าเข้าเพราะอะไร และจดความรู้สึกตอนนั้นไว้ และเมื่อเปิดคำสั่ง ขาย (Sell/Short) ก็ทำเช่นเดียวกัน แล้วนำมาวิเคราะห์ บันทึก ข้อดี/ข้อผิดพลาด ในการเทรด นำข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น มาเป็นบทเรียน อย่าทำตามนั้นอีก

9. When in doubt, stay out - เมื่อไม่แน่ใจ ไม่ต้องเทรด:เมื่อคุณมั่นใจ หรือกำลังสับสน กับสภาวะของตลาด ไม่แน่ใจว่าราคา จะวิ่งไปทางไหน ใหัอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร บางครั้งการไม่ทำอะไร ก็อาจดีที่สุด

10. Do not overtrade - อย่าเทรดมากจนเกินไป:คุณไม่ควรเปิดเทรด มากจนเกินไป ปกติในเวลาหนึ่ง ควรมี Position ที่เทรดค้างไว้ ไม่เกิน 3-5 Position ถ้ามีมากเกินไป คุณอาจควบคุมไม่ได้ หรืออาจใช้ อารมณ์ในการ ตัดสินใจ เมื่อตลาดเกิดการเเปลี่ยนแปลง ดังนั้นอย่าเปิดเทรด มากจนเกินไป

ขั้นตอนและวิธีการเทรดในตลาด Forex


ขั้นตอนและวิธีการเทรดในตลาด Forex

ในตลาด Forex จะต่างจากหุ้น ตรงที่ เราจะดูกันเป็น “คู่” ครับ ยกตัวอย่างเช่น EUR/USD คือการเปรียบเทียบระหว่างเงินยูโร กับเงินดอลล่าห์ ค่าเงินด้านซ้ายเราเรียกว่า base currency โดยเรามักจะเห็นราคา ซื้อ-ขาย อย่างนี้ครับ

EUR/USD bid= 1.3500 offer= 1.3502

โบรกเกอร์จะทำเงินจากเราจากส่วนต่างของ bid-offer ดังนั้น ทุกครั้งที่เราเปิดการเทรด เราจะติดลบก่อนเสมอ ซึ่งจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับส่วนต่าง bid-offer นี้ (แต่ละคู่ของค่าเงินจะไม่เท่ากัน เช่นที่ Maketiva คู่ EUR/USD จะต่างกัน 2 หรืออย่าง GBP/JPY ต่างกัน 7 (ที่ FxOpen แบบ micro จะมากกว่า Marketiva อยู่ +1 แต่ standard จะเท่ากัน))

เช่น ณ เวลาที่เราเข้า Buy คู่ EUR/USD อยู่ที่ 1.3502 (ที่ราคา offer) ถ้าเราปิด (close) ทันที เราจะ sell คืนไปที่ 1.3500 (ที่ราคา bid) เท่ากับเราขาดทุน 0.0002 หรือ 2 จุด (หรือ pip)

ถ้าเราสั่ง ซื้อ (เรียกว่า Buy หรือ Long) ในตอนที่เราเปิด order (เปิด order BUY) เราจะได้ราคาที่ offer และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ bid – การ buy คือการที่เราซื้อมาถือไว้ เพื่อรออัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น และเราจะปิด order นี้ โดยการ sell คืน (การสั่ง close order จะเป็นการ sell อัตโนมัติครับ – ไม่ใช่ให้เราเปิด order sell อีกอัน) ไปในราคาที่สูงกว่า (ถ้า sell คืนในราคาต่ำกว่า เราก็ขาดทุน) เรียกว่า ซื้อถูก ขายแพง

ข้อดีอีกข้อของตลาด Forex คือ เราสามารถเทรดขาลงได้ด้วย

เมื่อเราสั่ง ขาย (เรียกว่า Sell หรือ Short) ในตอนที่เราเปิด order (เปิด order SELL) เราจะได้ราคาที่ bid และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ offer – การ Sell คือการที่เราสั่งโบรกให้ขายออกไปก่อน เพื่อรออัตราแลกเปลี่ยนตกลงมา และเราจะปิด order นี้ โดยการ Buy คืน (การสั่ง close order จะเป็นการ buy อัตโนมัติครับ – ไม่ใช่ให้เราเปิด order buy อีกอัน) ไปในราคาที่ต่ำกว่า (ถ้า Buy คืนในราคาสูงกว่า เราก็ขาดทุน) เรียกว่า ขายแพง แล้วซื้อถูก

แต่จะเห็นว่า เราดู จุด หรือ pip กันที่ ทศนิยมตำแหน่งที่ 4 (หรือตำแหน่งที่ 2 ในบางคู่) เราลองมาดู EUR/USD กัน

สมมุติว่า เราพิจารณาแล้ว เราเห็นว่า EUR น่าจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD (คือ EUR จะแลก USD ได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป) เราจึงทำการเข้า buy โดยที่เราได้ราคา ที่ 1.3502 (จำได้มั๊ยครับว่าเราจะได้ราคา offer นั่นแปลว่าเมื่อเทียบกับ bid เราจะ -2 นี่คืนส่วนของค่าคอมมิทชั่นของโบรกเกอร์ครับ)

เมื่อเวลาผ่านไป ราคาวิ่งขึ้นไป ที่ 1.3552 หรือขึ้นมา 50 จุด แล้วเราเห็นว่าอาจจะไปต่อไม่ไหว จึงปิดทำกำไรที่ จุดนี้ เราจะได้กำไรมา 50 จุด หรือ 50 pips หรือ 0.0050 หน่วยใน base currency ซึ่งในที่นี้คือ 0.0050 usd

น้อยมากใช่ไหมครับ 0.0050 USD = ครึ่งเซ็นต์ หรือประมาณ 17 สตางค์ เท่านั้น นั่นแปลว่าหากเราอยากทำกำไรเยอะๆ เช่น pip ละ $1 (50 pip ก็คือ $50) เราต้องสั่งเทรดถึง $10,000 โอ้ว… ผมเองก็ไม่มีหรอกครับ $10,000

แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ?

จากที่เราสั่งซื้อด้วยเงินเพียง $1 ของเราเอง กำไรมันน้อยนิดมาก ขนาด +50 จุดยังทำเงินได้ 17 สตางค์เอง ตรงนี้แหล่ะครับที่ Leverage เข้ามามีผล

Leverage 1:100 แปลว่า เราใช้ทุนของเราเองเพียง 1 เพื่อสั่งซื้อ-ขาย 100 เช่น เราจะสั่งซื้อ EUR มาถือไว้ โดยจะซื้อที่ราคา 1.3502 จำนวน 100 USD (คือได้มา 74.0631 EUR) เราไม่ต้องใช้ 100 USD ครับ เราจะใช้เพียง 1 USD เพื่อแลก 74.0631 EUR มาถือไว้ ซึ่งเมื่อเราขายคืนไปที่ 1.3552 หรือกำไรมา 0.0050 แทนที่เราจะกำไรแค่ นั้น จะกลายเป็นว่าเราจะทำกำไรได้ 0.50 usd แปลว่าเราสามารถทำกำไรได้ 50% จากเงินที่เราลง (เราลงเพียง $1 เพื่อทำกำไร $0.50)

แต่ไม่ต้องห่วงนะครับ ว่าเราจะมีเงินพอรึเปล่า เวลามี Leverage แบบนี้ เพราะเวลาเทรดเราจะสั่งเทรดอย่างมาก ไม่เกิน 40% ของทุน (แต่แนะนำที่ 10% ครับ จะได้มีเหลือไว้แก้ตัว) เช่นถ้าเรามีทุน $100 เราก็สั่งเทรดเพียง $10 หรือ 10% (แต่เวลาสั่ง $10 คือ 1,000 unit นะครับ ที่ Leverage 1:100) 10% ที่ใช้ เราจะเรียกว่า used margin เวลาราคาวิ่งขึ้นหรือลง มันจะมาบวก หรือ ลบ ที่ 90% ที่เหลือ หรือที่เรียกว่า available margin หากเราติดลบไปเรื่อยๆ จน available หมด ระบบจะทำการตัดขาดทุน โดยการปิด order นี้ โดยอัตโนมัติ นั่นคือ โบรกเกอร์จะไม่ยอมขาดทุนแทนเราหรอกครับ

คิดคร่าวๆ คือ เราจะทำกำไร (ขาดทุน) ได้ ประมาณ 1% ต่อ pip จากเงินทุนของเรา (คู่อื่นอาจจะไม่ถึง 1% บางคู่ก็มากกว่า เช่น EUR/GBP ตกประมาณ 2% ครับ)

นั่นหมายความว่า ด้วยทุนเพียง $100 (3,400 บาท) คุณจะสามารถทำกำไรได้ถึงจุดละ $1 (สั่งเทรด 10,000 unit) หากทำได้ 10 จุดต่อวัน ก็วันละ $10 หรือ 340 บาท (โดยประมาณ) หรือวันละ 10%

และด้วยทุนเพียง $1,000 (34,000 บาท) เราจะสามารถทำกำไรได้ถึงจุดละ $10 (สั่งเทรด 100,000 unit) หากทำได้ 10 จุดต่อวัน ก็วันละ $100 หรือ 3,400 บาท

หรืออาจจะเริ่มเพียง $1 (34 บาท) โดยจะได้จุดละประมาณ 1 เซ็นต์

ค่อยๆ สะสมไปก็ได้ครับ เพราะมีแล้วคนที่ปั้น $5 จากทุนฟรีที่ Marketiva มีให้ ไปเป็น $1,000 ใน 3 เดือน

ลองคิดดูเล่นๆู ล่ะกันครับ ถ้าเพียงคุณสามารถทำกำไรได้ 10% ของทุนต่อวัน เพิ่มไปเรื่อยๆ 6 เดือน (120 วันเทรด) จะเป็นเงินเท่าไหร่ จากทุนเพียง $5

เป็น $463,545.34 หรือ 15,765,541.60 บาท ครับ โอ้ววววว พระเจ้าช่วย (ทำได้แค่ 5% ของไอเดียนี้ก็หรูแล้วครับ)

ปกติ EUR/USD จะไม่แรงมาก ทำวันละ 20-30 จุดได้ หากเป็นบางคู่ เช่น GBP/JYP (ทุกวันนี้ผมเล่น GBP/JYP เป็นหลัก เพราะแรง เร้าใจ) ผมเคยทำได้มากสุด +250 จุด เพียงช่วงเวลาที่ผมหลับ (เที่ยงคืน) จนมาถึงเวลาที่ผมตื่น (7 โมงครึ่ง) หรือ 250% ของเงินทุนที่ผมเทรด

ที่ FxOpen ให้เราสามารถ up Leverage ได้สูงสุดถึง 1:500 นั่นแปลว่า เราใช้ทุนตัวเองเพียง $200 ในการเทรด 100,000 unit (หรือ 1 lot จะได้จุดละ $10) เองครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Leverage ก็เป็นดาบ 2 คม ที่ทั้งทำให้ รวย-จน ได้ในพริบตา

Leverage และการที่มันวิ่งขึ้นลงทั้งวัน นี่แหล่ะครับ ที่ทำให้ Forex สนุก และเร้าใจ

อธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นครับ…

Leverage ที่มากขึ้น ทำให้ใช้ margin น้อยลงครับ เช่น

หากเราสั่งเทรด 1 Lot (บน mt4 จะมีค่าเท่ากับการเทรด Quantity = 100,000 unit ที่ marketiva)

หากใช้ Leverage 1:100 จะใช้ margin = $1,000 โดย 1 pip จะมีค่า = $10
หากใช Leverage 1:200 จะใช้ margin = $500 โดย 1 pip จะมีค่า = $10
หากใช Leverage 1:500 จะใช้ margin = $200 โดย 1 pip จะมีค่า = $10

สังเกตนะครับ ผมสั่งเทรดจำนวนเท่ากัน คือ 1 Lot (หรือ Quantity = 100,000 unit ที่ marketiva ซึ่ง) และ 1 pip นั้น ไม่ว่าจะใช้ Leverage เท่าไหร่ จะมีค่าเท่ากัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ margin ที่ใช้ลดลง

ข้อดีของ Leverage ที่มากขึ้น คือการได้ใช้ margin ลดลง อาจะทำให้ถือลบ ได้นานอีกหน่อย (ถ้าจะถือจนลบหมดตัว)

แต่ข้อเสียคือ ถ้ามองถึงการใช้ margin และยังคงดูเรื่อง fund management ที่เราพยายามเทรดไม่เกิน 10% ของทุน การที่ Leverage มากขึ้น เช่น เพิ่มจาก 1:100 ไปเป็น 1:200 แล้วเรายังคงเทรดโดยใช้ margin 10% สิ่งที่จะแตกต่างกันคือ (ถ้าทุน $10,000 เทรด โดยใช้ margin $1,000)

1:100 ต้องสั่งเทรด 1 Lot (หรือ 100,000 Quantity) เพื่อใช้ margin $1,000 จะได้ 1 pip = $10 ซึ่งถ้า -900 จุด จะโดน cut loss

แต่

1:200 ต้องสั่งเทรด 2 Lot (หรือ 200,000 Quantity) เพื่อใช้ margin $1,000 จะได้ 1 pip = $20 ซึ่งถ้า -450 จุด จะโดน cut loss
(จริงๆ marketiva สั่งได้มากสุดแค่ 100,000 แต่ e-mail ขอ support เพิ่มเป็น 200,000 ได้)

ซึ่ง ถ้าจะใช้ให้ถูก ถึงเราจะเลือก 1:200 เราก็ควรจะเทรดที่ 1 Lot (หรือ 100,000 Quantity) เหมือนเดิม เพื่อที่จะใช้ margin ลดลงเหลือ $500 ซึ่ง 1 pip จะยังคง = $10 และจะโดน cut loss เมื่อ -950 จุด (ยืดมาได้ 50 จุด จากที่ใช้ 1:100 ที่ลบได้แค่ 900 จุด)

ส่วนประกอบของโปรแกรม MT4

ส่วนประกอบของโปรแกรม MT4

มารู็จักหน้าตาของโปร แกรมแต่ละส่วนกันครับ(Components)









ส่วนประกอบคร่าวๆ ของโปรแกรม มีดังนี้ครับ
1. เมนู บาร์ (Menu Bar)
2. สแตนดาร์ด บาร์ (Standard Bar)
3. ชาร์ต บาร์ (Chart Bar)
4. เส้น ที่ช่วยในการ วิเคราะห์กราฟ ( Line Studies)
5. ช่วงเวลาของแท่งกราฟ (Periodicity)
6. ราคาเสนอ ซื้อ-ขาย (Market Watch)
7. แถบนำทาง ( Navigator)
8. รายงานบัญชี (Terminal)
9. หน้าต่างแสดงกราฟ (Chart Windows)







ผมจะขออธิบายส่วนประกอบต่างๆที่เราควรจะรู้ไว้แล้วกันนะครับ

1. เมนู บาร์ (Menu Bar) เป็นเมนูในส่วนของการใช้งานโปรแกรมทั้งหมด เช่น การ Login, เลือก-บันทึก Profile, การเรียกใช้ Indicator, การ เลือกมุมมองของหน้าต่าง รวมไปถึงการตั้งค่าโปรแกรมและการเปลี่ยน ข้อมูล Password ของเราเป็นต้น



. สแตนดาร์ด บาร์ (Standard Bar) เป็นเมนูมาตราฐานที่ใช้งานโปรแกรมทั่วๆไป ตามรายละเอียดในภาพด้านล่าง



3. ชาร์ต บาร์ (Chart Bar) เป็นเมนูที่ใช้ในการจัดการเกียวกับหน้าต่างกราฟ เช่น การเลือกดูรูปแบบกราฟแบบ บาร์ แท่งเทียน แบบเส้น, การเรียกใช้งาน รูปแบบ(Template) เป็นต้น



4. เส้นที่ช่วยในการวิเคราะห์กราฟ (Line Studies Bar) รายละเอียดการใช้งานเบื้องต้น ตามภาพด้านล่าง



5. ช่วงเวลาของแท่งกราฟ (Periodicity) คือ เมนูที่จะกดดูกราฟตามเงื่อนไขเวลาต่างๆตามรายละเอียดด้านล่าง
- M1 = 1 นาที
- M5 = 5 นาที
- M15 = 15 นาที
- M30 = 30 นาที
- H1 = 1 ชั่วโมง
- H4 = 4 ชั่วโมง
- D1 = 1 วัน
- W1 = 1 สัปดาห์
- MN = 1 เดือน



การใช้งานโปรแกรมพื้นฐาน MT4


การใช้งานโปรแกรมพื้นฐาน MT4

หลังจากเราลงโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาจะเป็นวิธีการใช้งานโปรแกรม ซึ่งขอบอกตรงนี้ก่อนว่า โปรแกรม MT4 นั้นสามารถสร้างบัญชี Demo เพื่อทดลองเล่นก่อนก็ได้ หรือจะ Login ด้วยบัญชีจริงที่เราสมัครไว้แล้วก็ได้ ไปดูวิธีใช้งานกันเลย

การสร้างบัญชี Demo และ การ Login ด้วยบัญชีจริง

1. หลังจากลงโปรแกรมเสร็จ ที่หน้าจอเราจะมี Icon Metatrader - FXOPen ดังรูป ให้ดับเบิ้ลคลิก เพื่อเปิดโปรแกรม




2. เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาครั้งแรกจะได้หน้าต่างที่ให้เราเปิดบัญชี Demo แต่เราจะสร้าง หรือไม่ก็ได้ ตามภาพด้านล่าง



3. (กรณีที่เราจะสร้างบัญชีทดลองเล่น Demo) หลังจากกด Nex มาจะได้ดังภาพ เป็นการบอกเซิร์ฟเวอร์ที่จะใช้ กด Next ต่อไปได้เลย



4. เป็นการแจ้งข้อมูลบัญชีทดลองที่เราได้สร้างไว้ จะ Copy ไว้หรือไม่ก็ได้ เพราะเราสร้างได้ไม่จำกัดอยู่แล้ว หรือตอน Login เราก็กด save account information ไว้มันก็จำจำไว้เองไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ทุกครั้ง



5. การ Login ด้วยบัญชีจริง(Real Account) ที่สมัครไว้แล้ว หลังจากขั้นตอนข้างบนเราจะได้หน้าตาโปรแกรมคล้ายๆด้านล่าง การ Login ทำได้โดยการ เข้าไปที่ เมนู File -> Login แล้วจะมีหน้าต่างให้กรอกข้อมูล Account No.209xxx ของเรา, password และ เลือก เซิร์ฟเวอร์ ที่ได้จากการสมัคร ถ้าไม่อยากกรอกข้อมูลอีกในครั้งถัดไป ก็ คลิกตรง Save account information ไว้ด้วยดังภาพ




การใช้งานโปรแกรมพื้นฐาน(Basic Guide's Line)

หลังจาก Login เข้าโปรแกรมแล้ว ทั้งแบบ Demo และ Real Account จะได้หน้าตาคล้ายๆรูปด้านล่าง แล้วเราก็มาดูการใช้งานทีละอย่างกันเลยครับ



การเลือกแสดงค่าคู่เงินต่างๆในหน้าต่าง Market Watch

1. คลิกขวาในพื้นที่ของหน้าต่าง Market Watch -> Symbol ดังภาพ



2. จากหน้าต่างที่ได้ดังภาพด้านล่างให้กดที่ค่า Forex ที่ต้องการแล้วกด Show หรือ Hide ตามที่ต้องการได้เลยครับ



การเลือกดูกราฟ, การแสดงแบบกราฟเดียว และ แบบหลายกราฟ

ถ้าเราต้องการที่จะให้กราฟของค่าเงินไหนแสดงที่หน้าต่างเราก็สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. คลิกขวาค่าเงินนั้นที่หน้าต่าง Market Watch -> Chart Window ดังภาพตัวอย่าง



2. คลิกปุ่ม New Chart บน สแตนดาร์ด บาร์ แล้วเลือกรายการที่ต้องการแสดงจากเมนูย่อยด้านใน




การแสดงกราฟให้กราฟเดียวเต็มหน้าจอนั้น เราสามารถกดขยายเหมือนกับวินโดวส์ทั่วไปได้เลยแล้วถ้ากราฟเรามีหลายกราฟทุกกราฟก็จะขยายเต็มหมดแล้วจะเปลี่ยนเป็นแทบอยู่ด้านล่างกราฟแทนเวลาจะดูกราฟไหนเราก็กดที่ตัวนั้นได้เลย ถ้าอยากจะให้มันจัดเรียงกันหลายหน้าต่างเหมือนเดิม ให้เข้าที่แถบ เมนู บาร์ ดังนี้ Windows->Tile Horizontal หรือ Tile Vertical คลิกดูแบบที่เราต้องการหน้าต่างก็จะกลับมาเรียงกันสวยงามเหมือนเดิม

การเพิ่ม Indicator เข้าไปในโปรแกรม และการนำไปใช้ในกราฟ
ก่อนอื่นการจะเรียกใช้ได้นั้นเราจะต้องนำ Indicator ที่เราได้มาไปไว้ใน Directory ที่ลงโปรแกรมไว้ โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่นี่ C:\Program Files\MetaTrader - FXOpen\experts\indicators ให้เราก๊อบปี้ Indicator ที่จะใช้ไปไว้ในนี้เลย (ถ้าไฟที่ได้มามีนามสกุล .ex4 สีขาวๆ ก็วางไว้เลย แต่ถ้าไฟล์ที่ได้มามีนามสกุลเป็น .mql จะเป็นสีเหลืองๆ แสดงว่ายังไม่ได้ Compile ให้ดับเบิ้ลคลิกไฟล์นั้นแล้วจะมีหน้าต่าง Meta Editor ขึ้นมา ให้กด F5 แล้วรอสักพัก จะเห็นหน้าต่างด้านล่างขึ้นมาว่า 0 errror(s), 0 waning(s) ก็แสดงว่า Compile ผ่านก็เป็นอันเรียบร้อย

ต่อไปจะเป็นวิธีการเลือกมาใช้ในกราฟ วิธีการทำได้โดย
1. ดูที่หน้าต่าง Navigator แล้วทำตามนี้ กด Custom indicator -> คลิกขวา indicator ที่เราต้องการ -> Attach to a chart เป็นอันเรียบร้อย แต่สำหรับ Indicator บางตัวอาจจะมีขึ้นมาให้กรอกค่า Parameter ต่าง เราก็ต้องศึกษาว่าจะใส่อะไร แต่โดยส่วนใหญ่แล้วค่าที่ใส่ก็เป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป และจะมีค่า Default ติดมาอยู่แล้วถ้าเราไม่รู้ก็กดตกลงไปก่อนได้เลยตามภาพตัวอย่าง



การเปิด คำสั่ง ซื้อ/ขาย (Buy and Sell Order)

อย่างที่ทราบกันว่าใน Forex นั้นเราสามารถเล่นได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ดังนั้นจึงมีคำสั่ง ทั้ง Buy และ Sell แต่อย่าเข้าใจว่าการ Sell เป็นการขาย Order ที่ถืออยู่นะครับ การ Sell ก็คือการเปิดซื้อ Order เหมือนกันแต่เป็นการเล่นในด้านขาลง คือถ้าเปิด Sell ไว้ แล้วไปปิด(Close Order) ที่ราคาที่ต่ำกว่า ก็เป็นการทำกำไรนั่นเอง แต่หลายๆคงคนรู้กันอยู่แล้วล่ะ ไปดูวิธีการเปิด Buy หรือ Sell กันเลยครับ



จากรูปข้างบน จะมีวิธีการเปิด Order ได้สองวิธีคือ1. กดปุ่ม New Order
2. คลิกขวาที่กราฟที่เราต้องการซื้อหรือขายเลือก เมนู Trading -> New Order (คีย์ลัดกด F9)
หลังจากทำ ข้อ 1 หรือ 2 แล้วจะได้หน้าต่างดังภาพด้านล่าง (กดที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่)




ถ้าเราเห็นว่ากราฟกำลังมีแนวโน้มจะลง (โดยใช้ Indicator ต่างๆในการวิเราะห์แล้ว) เราก็กด Sell หรือ ว่าถ้ากราฟราคากำลังขึ้นเราก็กด Buy นั่นเอง (อย่าสับสนว่าการ Sell เป็นการขาย Order ที่ถืออยู่นะครับการ Sell ก็ถือเป็นการเปิดซื้อ Order อย่างหนึ่งในทางขาลง ซึ่งเป็นจุดแตกต่างจากการเล่นหุ้นทั่วไปตรงนี้นี่เองที่ทำให้เราสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง) เมื่อคำสั่งซื้อหรือขายเสร็จก็จะได้หน้าต่างดังภาพด้านล่าง



ส่วนการขาย Order ที่ถืออยู่ เรียกว่าการ Close Order ไม่ว่าเรากด Buy หรือ Sell เมื่อมีกำไรแล้วเราจะปิดเราก็ต้องทำการ Close Order เหมือนกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

การปิดออร์เดอร์ที่เราทำการซื้อหรือขายไว้ (Close Order) 




จากรูปด้านบนเมื่อต้องการที่จะปิด Order ไหนก็ให้เราคลิกขวาที่รายการนั้นแล้วเลือก Close Order แล้วเราจะได้หน้าต่างดังรูปด้านล่าง ให้กด Close ปุ่มสีเหลือง ก็เป็นการปิด Order นั้นๆเรียบร้อย

วิธีการดาวน์โหลดและติดตั้ง


วิธีการดาวน์โหลดและติดตั้ง


MT4 นั้น ถือว่าเป็นโปรแกรมที่เป็นที่นิยม และใช้กันอย่างแพร่หลายมาก โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ก็จะใช้โปรแกรมนี้ในการ เทรด มีเพียงบางโบรกเกอร์ที่อาจใช้ซอฟท์แวร์อื่น แต่ผมขอแนะนำให้เทรดด้วยโปรแกรมตัวนี้ เพราะว่ามันมีความยืดหยุ่น ปรับแต่งตามความต้องการของเรารวมไปถึงการเขียนโค๊ดได้เอง(สำหรับคนที่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม)สามารถใช้ EA หรือ โปรแกรมเทรดอัตโนมัติได้ รวมไปถึง Indicator ตัวชี้วัดแนวโน้มตลาดต่างๆมากมายที่มีให้เราเลือกใช้ ซึ่งตัวพื้นฐานต่างๆจะมีในโปรแกรมอยู่แล้วหรือเราจะหามาจากที่อื่น ใน Forex Communities ที่เขาทำขึ้นมาในเวบต่างๆมากมายให้เราเลือกใช้ตามความเหมาะสมและประสบการของเรา มาทำความรู้จักกันเลยแล้วกัน

เข้าเว็ป ที่ท่านต้องการเทรด แล้วทำตามตัวอย่าง



การดาวน์โหลดคลิกที่ Download (โหลดโปรแกรม) Save ลงในเครื่องจะได้ ไฟล์ Setup โปรแกรม ชื่อ 









ให้กด next ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเสร็จการติดตั้งโปรแกรม





เริ่มต้นกับ Forex


เริ่มต้นกับ Forex

เอาล่ะ ทีนี้ก็มาถึงหัวข้อ "เราจะเริ่มต้นอย่างไร?"

ในการที่เราจะเริ่มต้นการเทรด Forex ได้นะครับ อันดับแรก สิ่งที่คุณควรจะมีคือ


คอมพิวเตอร์เจ๋งๆ ซัก 1 เครื่อง
internet connection - ควรจะเป็นแบบไฮสปีดนะครับ
โต๊ะคอมฯ และเก้าอี้นั่งสบายๆ
ตัวเรา อ่ะ! อันนี้แน่นอน เพราะเราต้องทำการเทรดเองนี่นา
ทุน เริ่มต้นที่ 0 บาท ครับ ไม่ผิด 0 บาท เพราะหากยังไม่คุ้นเคย ผมแนะนำให้ทดลองเล่น demo account ไปก่อน อย่างน้อยๆ 3 เดือน โบรกเกอร์ที่ผมใช้อยู่ มี demo account และ virtual money ให้ทดลองเล่น ทุกอย่างคือของจริง ยกเว้น เล่น-ได้ เสีย ก็ไม่ ได้-เสีย เงิน จริงๆ เพราะเป็นเงินปลอมทดลองเล่น และที่สำคัญ 2 โบรกนี้ ยังมี real money หรือเงินจริง เป็นทุนให้เราด้วย ที่ $5 และ $1 ตามลำดับ
ทำใจสบายๆ แล้วทำเงินกันเลย

จากนั้นครับ สิ่งที่เราจะเริ่มต้นทดลองเทรดได้ จะต้องเริ่มจาก

1. สมัคร e-currency

e-currency คือระบบการเงินบน internet ครับ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ Paypal หรือบางคนอาจจะรู้จัก e-gold / e-bullion บ้าง แต่ตอนนี้โบรกที่ใช้รับ และสะดวกสำหรับการแลกเปลี่ยน (ให้เป็นเงินในกระเป๋าเรา) ในไทยคือ e-bullion ซึ่งสามารถสมัครได้ที่ http://www.e-bullion.com และบางโบรกเกอร์ ก็มี Paypal ให้บริการ ฝาก-ถอน เงินลงทุน ซึ่งจะสะดวกมากๆ สำหรับเรา ถ้าจะสมัคร Paypal ก็ www.paypal.com (ตอนนี้ Liberty Reserver ก็เป็นที่นิยมครับ สมัครได้ที่ https://www.libertyreserve.com/en)

อ้อ.. e-bullion มีค่าบริการรายเดือนๆ ละ $7 นะครับ แต่ไม่มีค่าธรรมเนียมในการรับส่งเงิน ทั้งนี้ระบบจะตัดบัญชีอัตโนมัติทุกวันที่ 1 แนะนำว่าควรเหลือเงินไว้ให้เค้าตัดด้วยนะครับ ถึงไม่ครบ $7 ก็เหลือไว้บ้าง แต่เค้าก็จะไม่ตัดย้อนหลังนะครับ แต่ถ้าบ่อยๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการใช้บัญชีได้ครับ ส่วน Paypal ไม่มีรายเดือนแต่มีค่าธรรมเนียม

2. สมัึครสมาชิกเว็บ ซื้อ-ขาย e-currency

มีหลายเว็บที่แนะนำครับ สำหรับ ซื้อ-ขาย e-currency ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiopenmarket.com - http://www.egoldthai.com - http://www.tarad.com/e-currency เข้าไปสมัครตามลิ้งค้นี้ได้เลย http://www.ecurrencyplus.com/signup.php?ref=2123

3. สมัครเทรดกับโบรกเกอร์ (แนะนำให้เทรดด้วยบัญชีเดโม --เงินปลอม-- ให้คล่องก่อน)

Forex คืออะไร?


ตลาด Forex คือตลาดทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยสิ่งที่ซื้อ-ขายกันในตลาดนี้คือเงินตราสกุลต่างๆ ครับ โดยตลาด Forex มีมูลค่าการซื้อขายต่อวันสูงถึง 1.9 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ มากกว่าทุกตลาดทางการเงินในโลกนี้รวมกัน!

ตลาด Forex มีตลาดใหญ่ๆ อยู่ที่ ญี่ปุ่น ลอนดอน นิวยอร์ค และยังมีตลาดที่ออสเตรเลีย กับยุโรป อีกด้วย ซึ่งการที่มีตลาดเปิด และปิดในหลายพื้นที่ของโลกเหลื่อมลั้มกัน จึงทำให้เสมือนหนึ่งตลาดนี้ ไม่มีวันหลับไหล โดยสามารถเริ่มเข้าตลาดได้ตั้งแต่ตี 4 เช้าวันจันทร์ จนถึงตี 4 เช้าวันเสาร์ (ตามเวลาในประเทศไทย) ตลอด 24 ชั่วโมง!!!

ก่อนอินเตอร์ เน็ทจะแพร่หลาย ตลาดการเงินแห่งนี้จะมีผู้เล่นหลักเฉพาะในกลุ่ม ธนาคาร กองทุน ผู้นำเข้า และส่งออก และในกลุ่มของคนที่ใกล้ชิดวงการธนาคาร แต่เมื่ออินเตอร์เน็ทเริ่มบูม ก็เริ่มมีการพัฒนาระบบเทรดบนอินเตอร์เน็ท และเริ่มมีผู้ให้บริการ (โบรกเกอร์) มากขึ้น

จนกระทั่งเริ่มมี โบรกเกอร์ที่ให้บริการสำหรับนักลงทุนรายย่อย และมือใหม่ที่เริ่มสนใจตลาดเงินให้สามารถเริ่มต้อนได้ด้วยทุนเพียง $1 - $500 เท่านั้น! 

หลายคนอาจจะเริ่มสงสัย ว่าด้วยทุนเพียง $1 จะสามารถทำกำไรได้อย่างไร

นี่ แหล่ะครับ คือความน่าสนใจอีก 1 ข้อของตลาดนี้ คือระบบที่เรียกว่า Leverage ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีทุนน้อย สามารถทำกำไรได้เสมือนหนึ่งมีทุนเป็นแสน เป็นล้าน ไว้เดี๋ยวจะอธิบายต่อไป 

สรุปความน่าสใจในของตลาด Forex

เงินลงทุนต่ำ ต่ำสุดเพียง $1 หรือ 34 บาท 
ตลาด online ผ่าน Internet 24 ชั่วโมง ดำเนินการทุกอย่างผ่าน Internet 
ไม่มีคนกลาง คำสั่งซื้อ-ขาย เป็นระบบอัตโนมัติ ไท่พลาดทุกคำสั่งซื้อ-ขาย 
สามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้น และตลาดขาลง 
ค่าดำเนินการต่ำ โบรกเกอร์เก็บค่า spreed ตั้งแต่ 1 - 20 pips ต่อเทรด ขึ้นอยู่กับคู่ของค่าเงินที่เทรด 
มี demo account สามารถทดลองเทรดได้เสมือนจริง บนระบบจริง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

บทความที่ได้รับความนิยม