วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ข่าวจากเว็บข่าว Forex Factory

ข่าวนั้นก็ถือว่ามีความสำคัญทีเดียวเลยครับ สำหรับ Trader อย่างเรา
เพราะการเคลื่อนที่ของราคานั้นมันก็มาจากปัจจัยพื้นฐานครับ
ดังนั้นนะครับอย่าเพิ่งมองข้ามสิ่งนี้ไป...
สำหรับชาวเทรด forex อย่างเรานะครับ ก็มีเว็ป forexfactory เป็นเว็ปที่ให้ข่าวสำคัญทีเดียวเลยครับ
จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากทีเดียวเลยครับสำหรับการเทรด

Forex news : ข่าวที่มีผลต่อตลาดเงิน โดยส่วนมากจะเป็นข่าวเศรษฐกิจนะครับ โดยหลักๆจะมี
อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate), อัตราจ้างงาน (Employment Change), การประกาศตัวเลข GDP เป็นต้นครับ

สมมุติว่าประเทศนั้น มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น แสดงว่าคนในประเทศนั้นก็จะมีรายได้มากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยสินค้าก็มากขึ้น ส่งผลให้ประเทศนั้นมีเศรษฐที่ดีขึ้น ค่าเงินของประเทศนั้นๆก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ในทางกลับกันนะครับ ถ้าประเทศนั้นมีการจ้างแรงงานลดลง แสดงว่าคนในประเทศนั้นก็จะมีรายได้ที่ลดลง การจับจ่ายใช้สอยสินค้าก็ลดลง ส่งผลให้ประเทศนั้นมีเศรษฐที่ลดลง ค่าเงินของประเทศนั้นๆก็จะลดลงตามไปด้วย

ถ้าเรารู้แล้วว่าประเทศนั้นค่าเงินจะเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลง แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าคู่งั้นจะลดลงหรือเพิ่มมากขึ้น??

ผมขอยกตัวอย่างคู่เงิน EUR/USD นะครับ ก็คือว่า ถ้าตัวหน้า (EUR) แข็งค่าขึ้น คู่เงินนี้ก็จะมีค่าเพิ่มขึ้น
,ถ้าตัวหน้า (EUR) อ่อนค่าลง คู่เงินนี้ก็จะมีค่าลดลง,ถ้าตัวหลัง (USD) แข็งค่าขึ้น คู่เงินนี้ก็จะมีค่าลดลง ,ถ้าตัวหลัง (USD) อ่อนค่าลง คู่เงินนี้ก็จะมีค่ามากขึ้น  

สรุปก็คือ ถ้าตัวหน้าแข็งค่าคู่เงินนั้นก็จะมีค่าเพิ่มขึ้น,  ถ้าตัวหลังแข็งค่าคู่เงินนั้นก็จะมีค่าลดลง

เรามาเริ่มทำการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูข่าวที่ forexfactory กันเลยนะครับ

>> http://www.forexfactory.com << เมื่อเปิดเว็ปนี้เข้ามาแล้วนะครับ
ก่อนอื่นเลยเราต้องไปปรับเวลาตามประเทศไทยครับจะได้ไม่เกิดความสับสน
วีธีแก้ไขก็ง่านนิดเดียวครับ ทำตามนี้เลย


หลังากที่เราต้องเวลาไปเรียนร้อยแล้วนะครับ เราก็จะมาทำการเรียนรู้ว่าช่องต่างๆบอกอะไรเราบ้าง
ตามนี้เลยครับ


ถ้าค่า Actual ต่างกับค่า Previous มากเท่าไหร่ยิ่งส่งผลต่างค่าเงินมากเท่านั้นนะครับ
แล้วก็ขึ้นอยู่กับ Impact ด้วยนะครับว่ามีผลกระทบต่อค่าเงินมากไหม ถ้ามีผลกระทบต่อค่าเงินมากก็จะส่งผลให้ค่าเงินนั้นเคลื่อนแรงมากเช่นเดียวกันครับ

สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่นะครับ
ช่วงเวลาที่ข่าวออกนั้นกราฟจะเคลื่อน ขึ้น-ลง แรงกว่าปกตินะครับให้เลือน Stop Loss ให้แคบลงนะครับ
หรือจะตั้ง Stop loss แบบไล่ตามราคาไปเลยก็ได้ครับ เพื่อความปลอดภัยของพอร์ตลงทุน

( การตั้ง Stop loss แบบไล่ตามราคาให้ดูที่ หัวข้อ เทคนิค การเทรด )

การเทรดข่าวนอนฟาม( Trading Non-Farm Payroll)

การเทรดข่าวได้กลายเป็นที่นิยมมากในหมู่ฟอเร็กเทรดเดอร์อย่างเราๆทั้งหลาย ด้วยเหตผลที่ง่าย ตามที่ข่าวได้ออกจากรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ค่าเงินหลายตัวเกิดการสวิงอย่างรุนแรงในช่วงนาที(หรือบางครั้งอาจจะเป็นวินาทีเลยก็ได้) ซึ่งสิ่งนี้แหระ ได้เป็นสิ่งยั่วยวนใจมากให้กับเทรดเดอร์ทั้งหลาย เพราะมันสามารถได้กำไรเร็วในช่วงเวลาที่สั้น ๆ

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับนอนฟามกันก่อนนะครับ
ราชาของตัวเลขเศรษกิจทั้งหลายถูกเรียกว่า Non-Farm payroll ซึ่งมันจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเดือนละหนึ่งครั้ง จะเกิดขึ้นในวันศุกร์ สัปดาห์แรกของเดือน ข่าวนอนฟาม Non-Farm payroll นี้จะรายงานตัวเลขการจ้างงานทั้งหมดของคนงานสหรัฐในธุรกิจต่างๆ

ข่าวนอนฟาม NFP ( Non-Farm payroll ) นี้จะส่งผลกับจียู (GBP/USD) มากที่สุด ตัวเลขของข่าวนอนฟามจะออกเวลา 8.30ET (19.30 เวลาบ้านเรา) ในช่วงก่อนเวลา 19.30 ราคาจะสวิงขึ้นลง เกิด gap(ช่องว่าง) ขึ้นลงหาทิศทางไม่ได้ ซึ่งเราไม่รู้ราคามันจะไปทางไหน สิ่งที่เราควรทำก็คือ รอ อย่าพึ่งเข้าออเดอร์ใดๆ

ขั้นตอนแรก : ให้รอแท่งแรก ของแท่ง 5 นาที หลังจากเวลา 8.35 ( เราจะใช้ Bar chart นะครับ ) ซึ่งเราจะเรียกแท่งหลังจาก 8.35 นี้ว่า Inside Bar ซึ่ง High และ Low ของ Inside Bar แท่งนี้ต้องไม่สูงกว่าและต่ำกว่า แท่งก่อนหน้านี้

Non-Farm payroll

เรามาดูวิธีการเทรดทั้งสองแบบกันนะครับ ทั้ง Short และ Long จาก Trading Non-Farm payroll
วิธีแรก การเข้า Long

-จากกราฟด้านบนจะเห็นว่า เมื่อข่าว non-farm payroll ออกมาแล้ว เราจะเห็นกราฟแท่งแรกสวิงแรงมาก ขึ้นลง โดยไม่มีทิศทาง สิ่งที่เราควรจะทำคืออยู่นิ่ง แล้วรอ Inside Bar แท่งที่สองต่อจากแท่งนอนฟาม
-แท่งที่สองนี้ เราจะใช้หา ราคาเข้าและกำหนดจุด Stop loss
-แท่งที่สาม เราจะใช้ในการเข้า จากรูปด้านบน เราจะเข้า Buy (Long) ที่ราคาสูงสุด(+2 ถึง 5จุด )ของแท่งที่สอง แล้วตั้ง Stop Loss ที่ราคาต่ำสุดของแท่งที่สอง

วิธีที่สอง การเข้า Short (Sell)



จากกราฟด้านบน เมื่อราคาสามารถทะลุ Low ของ Inside Bar ได้ เราจะเข้า Short (Sell) ทันที และตั้ง Stop Loss ไว้ที่ High ของ แท่ง Inside Bar

วิธีการเทรดข่าวนอนฟาม (Trading Non-Farm payroll ) นี้ เราไม่จำเป็นต้องรอเฉพาะข่าวนอนฟามเพียงอย่างเดียว เราสามารถประยุกต์วิธีการนี้ใช้กับข่าวอื่นๆได้ หรือแม้แต่ เทรดโดยไม่ต้องมีข่าวในบางครั้ง กราฟในบางครั้งก็ขึ้นลงโดยที่เราไม่รู้ว่ามีข่าวอะไร ก็ให้สังเกต Inside Bar ที่เกิดขึ้น แล้วเราก็กำหนดจุดเข้าออกจาก Inside Bar นี้ เราก็สามารถมีกำไรจากวิธีการเทรดแบบนี้ได้ครับ

การอ่านข่าวใน ForexFactory.com
Forex News: ข่าวที่มีผลต่อตลาดเงิน จะเป็นข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงินของประเทศต่างๆ ข่าวของแต่ละประเทศ จะมีผลต่อค่าเงินของประเทศนั้น ข่าวที่มีผลต่อค่าเงินมาก ตัวอย่าง เช่น อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate), อัตราจ้างงาน (Employment Change), การประกาศตัวเลข GDP
ถ้าข่าวเศรษฐกิจ ของประเทศ ออกมาดี เช่น การจ้างงานเพิ่มขึ้น, GDP เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นเพิ่มขึ้น ตัวเลขออกมาดี คนแย่งกันซื้อ ค่าเงินก็จะสูงขึ้น ตามหลัก อุปสงค์/อุปทาน ถ้าข่าวออกมาเศรษฐกิจ ไม่ดี คนย่อมไม่อยาก จะถือเงินนั้นไว้ พากันเทขายออกมา ค่าเงินจึงลดลง
เมื่อเรารู้ว่าข่าวทำให้ค่าเงินนั้นๆ ขึ้น จะมีผลต่อราคาคู่เงินที่เราเล่น อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าข่าวออกมาแล้วค่าเงิน USD (ดอลล่าร์สหรัฐฯ) แข็งขึ้น ดอลล่าร์สูงขึ้น คู่เงินที่มี USD นำหน้า ราคาจะวิ่งขึ้นไป เช่น (USD/JPY, USD/CHF, USD/CAD) และคู่เงินที่มี USD ข้างหลัง ราคาก็จะลดลง เพราะตัวหารเพิ่มขึ้น เช่น (EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, NZD/USD) ถ้า USD อ่อนลง ก็กลับกัน

ข่าวที่สำคัญๆ จะมีต่อค่าเงินมาก ณ.เวลาที่ข่าวออก ราคาของคู่เงินอาจ ขึ้น/ลง มากกว่า 100 จุด ขึ้นอยู่กับ ผลของข่าว ผู้ที่ต้องการเล่นข่าวห้ามพลาดเด็ดขาด ผู้ที่เล่นเทคนิค เล่นตามซิกแนล ควรหลีกเหลี่ยงช่วงข่าวสำคัญ จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข่าวให้ดี ถ้าเรามีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ การเงิน จะเป็นประโยชน์มากในการวิเคราะห์ข่าวต่างๆ
http://www.forexfactory.com/ จะมีข่าวของค่าเงินและข่าวที่กระทบของค่าเงินต่างๆซึ่งมีระดับความสำคัญดังนี้ครับ


ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance : 
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
4 GDP ( Gross Domestic Production ) : จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure) : ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
6 CPI ( Consumer Price index ) : ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
7 TICS ( Treasury International Capital System ) : ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting ) : จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
9 Retail Sales : ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey : ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
11 PPI ( Producer Price Index ) : ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

ระดับที่เรียกว่าสำคัญ... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
12 Weekly Jobless Claims : ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
13 Personal Income : ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
14 Personal spending : ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England ) : การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป) และ2.อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด (ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany,Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden,Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และSlovenia)
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders :
 ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager ) : ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
19 Philadelphia Fed. Survey : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
20 ISM Non-Manufacturing Index : ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
21 Factory Orders : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
22 Industrial Production & Capacity Utilization : ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
23 Non-Farm Productivity : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
24 Current Account Balance : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment ) : ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index ) : ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
27 Leading Indicators : ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim,Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
28 Business Inventories : ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany ) : ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)

บทความที่ได้รับความนิยม