เรื่องของ indicator MA
เรื่องพื้นฐานๆครับ พอดีผมรู้สึกสนใจเกี่ยวกับหลักการของอินดี้ต่างๆนะครับ อ่านๆแล้วก็กลัวลืมขอเอามาจดไว้ละกัน ไม่ได้พูดถึงเทคนิคการเอาอินดี้มาทำเงินนะครับ เอาไว้ทยอยเพิ่มอินดี้ตัวอื่นๆด้วย
อ้างถึง
MA ย่อมาจาก Moving Average หรือแปลเป็นไทย "ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่" มันคืออะไร ยกมาจากเวปนี้ละกัน
http://www.investorwords.com/3150/moving_average.html
อ้างถึง
moving average
Definition
A technical analysis term meaning the average price of a security over a specified time period (the most common being 20, 30, 50, 100 and 200 days), used in order to spot pricing trends by flattening out large fluctuations. This is perhaps the most commonly used variable in technical analysis. Moving average data is used to create charts that show whether a stock's price is trending up or down. They can be used to track daily, weekly, or monthly patterns. Each new day's (or week's or month's) numbers are added to the average and the oldest numbers are dropped; thus, the average "moves" over time. In general, the shorter the time frame used, the more volatile the prices will appear, so, for example, 20 day moving average lines tend to move up and down more than 200 day moving average lines.
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) ในแง่ของการวิเคราะห์เชิงเทคนิค หมายถึง ค่าเฉลี่ยของราคาหลักทรัพย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด ( ปกติก็จะเป็น 20 , 30 , 50 , 100 , 200 วัน) ซึ่งถูกใช้ในการมองแนวโน้มราคาโดยการทำให้ราคาที่แกว่งตัวมากดูราบเรียบขึ้น ซึ่งค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ บางทีอาจจะเป็นตัวแปรที่ถูกใช้บ่อยที่สุดตัวนึงในการวิเคราะห์เชิงเทคนิค
เกี่ยวกับข้อมูลของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถูกใช้ในการสร้างกราฟซึ่งแสดงว่าแนวโน้มของราคาหุ้นขึ้นหรือลง มันอาจจะถูกใช้ในการวัดผลเป็นรายวัน , รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เมื่อข้อมูลของวันใหม่ (หรืออาจจะเป็นอาทิตย์ใหม่หรือเดือนใหม่ ในกรณีเราวัดผลเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน) ถูกเพิ่มเข้ามาในการคำนวณราคาถัวเฉลี่ย ข้อมูลเก่าที่สุดก็จะถูกเอาออกไปจากการคำนวณ เพราะฉะนั้น ค่าเฉลี่ยจึง "เคลื่อนที่" (move) ตลอดเวลา (หมายถึงกลุ่มของข้อมูลราคาที่นำมาใช้ในการคำนวณ จะขยับขึ้นหน้าไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป) โดยทั่วไปแล้วยิ่งเราใช้ช่วงเวลาสั้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีความผันผวนของราคาแสดงให้เห็นมากในเส้นค่าเฉลี่ย ดังนั้น ตัวอย่างเช่น เส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน (MA 20) จะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาขึ้นและลงมากกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (MA 200)
ปล. ผมแค่จดไว้อ่านทีหลังเท่านั้นเอง ภาษาอังกฤษไม่ได้แข๊งแรงมาก แปลทีเหนื่อยอยู่เหมือนกัน ถ้ารกหูรกตาหรือดูไร้สาระก็ต้องขออภัยด้วยครับ
-----------------------------------------------------------
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) ยังแบ่งประเภทตามวิธีในการคำนวณได้หลายแบบ
- เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย หรือ Simple Moving Average (SMA)
คือเส้นค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากราคาสุดท้ายของช่ววเวลา (อย่างเช่นการคำนวณเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่รายวัน ก็ใช้ราคาสุดท้ายของวัน) นำมาบวกกัน แล้วหารด้วยจำนวนช่วงเวลา เป็นราคาถัวเฉลี่ยของช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 14 วัน หรือ SMA(14) บนกราฟวัน คำนวณได้โดยการนำราคาสุดท้ายของ 14 วันล่าสุดมาบวกกัน แล้วหารด้วย 14
SMA ของช่วงเวลาที่ยาวกว่า จะดูราบเรียบกว่า เมื่อเกิดการผันผวนของราคา เพราะมีน้ำหนักหรือผลรวมของราคาตลอดช่ววเวลามาก ความผันผวนที่เกิดขึ้นในระยะสั้นก็จะส่งผลรวมไม่มาก ตัวอย่างเช่น ราคาปกติของหลักทรัพย์ตัวหนึ่งประมาณ 10 บาท แต่มีอยู่วันหนึ่งที่ราคาผันผวนเป็น 20 บาท
- ถ้าเราถัวเฉลี่ยราคา 7 วัน ก็จะได้ (10+10+10+10+10+10+20)/7 = 11.43
- ถ้าเราถัวเฉลี่ยราคา 3 วัน ก็จะได้ (10+10+20)/3 = 13.33
จะเห็นได้ว่ายิ่งถัวเฉลี่ยราคาในช่วงเวลาที่นานขึ้น เมื่อเกิดการผันผวนของราคาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ค่าเฉลี่ยที่ได้จะผันผวนน้อย หรือมีความเรียบมากกว่า
- เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Exponential หรือ Exponential Moving Average (EMA)
[คำแปลไทยไม่ค่อยจะสื่อความหมาย ทับศัพท์ไปละกัน ! exponential (เอคซฺโพเนน'เชิล) adj. เกี่ยวกับเลขกำลังที่อยู่เหนือสัญลักษณ์]
ขอยกของ babypip มาละกัน
อ้างถึง
Exponential Moving Average (EMA)
Although the simple moving average is a great tool, there is one major flaw associated with it. Simple moving averages are very susceptible to spikes. Let me show you an example of what I mean:
Let’s say we plot a 5 period SMA on the daily chart of the EUR/USD and the closing prices for the last 5 days are as follows:
Day 1: 1.2345
Day 2: 1.2350
Day 3: 1.2360
Day 4: 1.2365
Day 5: 1.2370
The simple moving average would be calculated as
(1.2345+1.2350+1.2360+1.2365+1.2370)/5= 1.2358
Simple enough right?
Well what if Day 2’s price was 1.2300? The result of the simple moving average would be a lot lower and it would give you the notion that the price was actually going down, when in reality, Day 2 could have just been a one time event (maybe interest rates decreasing).
Advertisement
The point I’m trying to make is that sometimes the simple moving average might be too simple. If only there was a way that you could filter out these spikes so that you wouldn’t get the wrong idea. Hmmmm…I wonder….Wait a minute……Yep, there is a way!
It’s called the Exponential Moving Average!
Exponential moving averages (EMA) give more weight to the most recent periods. In our example above, the EMA would put more weight on Days 3-5, which means that the spike on Day 2 would be of lesser value and wouldn’t affect the moving average as much. What this does is it puts more emphasis on what traders are doing NOW.
Exponetial Moving Average
When trading, it is far more important to see what traders are doing now rather than what they did last week or last month.
โดยสรุปก็คือ SMA มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง คือมันให้ความสำคัญกับราคาของทุกช่วงเวลาเท่ากันหมด ทำให้ความผันผวนของราคาในอดีต ส่งผลหรือมีนัยสำคัญเช่นเดียวกับความผันผวนของราคาปัจจุบัน
ตัวอย่างเช่น ราคาเฉลี่ยของหลักทรัพย์ตัวหนึ่งคือ 10 บาท การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 7 วันหรือ SMA(7) เป็นดังนี้
กรณีที่ 1 เกิดความผันผวนของราคาในวันที่ 1 การคำนวณคือ (20+10+10+10+10+10+10)/7 = 11.43
กรณีที่ 2 เกิดความผันผวนของราคาในวันที่ 6 การคำนวณคือ (10+10+10+10+10+20+10)/7 = 11.43
จะเห็นได้ว่าทั้งสองกรณี ให้ผลการคำนวณเท่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงโดยเฉพาะเมื่อทำการเทรด การพิจารณาถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ย่อมสำคัญกว่าสิ่งที่ผ่านมานานแล้วในอดีต EMA เข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ โดย EMA จะให้น้ำหนักความสำคัญของราคาในปัจจุบันมากกว่าราคาในอดีต ลองดูภาพตัวอย่างจาก babypips เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคา EMA จะตอบสนองหรือให้สัญญาณเร็วกว่า SMA
---------------------------------------------------------------
ต่อจากนี้ไป ขอเรียกตัวย่อๆว่า SMA และ EMA
SMA vs. EMA อะไรดีกว่ากัน
ขอยกมาจาก babypips อีกครั้ง
อ้างถึง
SMA vs. EMA
Which is better: Simple or Exponential?
First, let’s start with an exponential moving average. When you want a moving average that will respond to the price action rather quickly, then a short period EMA is the best way to go. These can help you catch trends very early, which will result in higher profit. In fact, the earlier you catch a trend, the longer you can ride it and rake in those profits!
The downside to the choppy moving average is that you might get faked out. Because the moving average responds so quickly to the price, you might think a trend is forming when in actuality; it could just be a price spike.
With a simple moving average, the opposite is true. When you want a moving average that is smoother and slower to respond to price action, then a longer period SMA is the best way to go.
Although it is slow to respond to the price action, it will save you from many fake outs. The downside is that it might delay you too long, and you might miss out on a good trade.
SMA
Pros:
Displays a smooth chart, which eliminates most fakeouts.
Cons:
Slow moving, which may cause a lag in buying and selling signals.
EMA
Pros:
Quick moving, and is good at showing recent price swings.
Cons:
More prone to cause fakeouts and give errant signals.
So which one is better? It’s really up to you to decide. Many traders plot several different moving averages to give them both sides of the story. They might use a longer period simple moving average to find out what the overall trend is, and then use a shorter period exponential moving average to find a good time to enter a trade.
In fact, many trading systems are built around what is called “Moving Average Crossovers”. Later in this course, we will give you an example of how you can use moving averages as part of your trading system.
Advertisement
Time for recess! Go find a chart and start playing with some moving averages. Try out different types and look at different periods. In time, you will find out which moving averages work best for you. Class dismissed!
กล่าวโดยสรุปก็คือ EMA จะให้การตอบสนองต่อราคาที่เร็วกว่า แต่ข้อเสียก็คือ เกิดสัญญาณหลอกได้ง่ายกว่า อย่างเช่นเมื่อราคาเปลี่ยนแปลงเราอาจคิดว่าแนวโน้มเปลี่ยนแล้ว แต่ที่จริงเป็นเพียงการผันผวนของราคาชั่วขณะเท่านั้น ส่วน SMA ให้การตอบสนองต่อราคาที่ช้ากว่าทำให้อาจจะพลาดโอกาสในการซื้อขายที่ดี แต่ข้อดีของมันคือมันให้สัญญาณหลอกน้อยกว่า
แล้วอะไรล่ะที่ดีกว่ากัน ทุกอย่างขึ้นกับตัวเราในการนำไปใช้งาน เทรดเดอร์หลายคนจะใช้ทั้ง SMA และ EMA โดยอาจจะใช้ SMA ของช่วงเวลาที่ยาว เพื่อมองดูภาพรวมของแนวโน้ม แล้วใช้ EMA ของช่วงเวลาที่สั้นกว่าเพื่อหาจังหวะในการเข้าเทรด