วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

6.การใช้ Ichimoku เต็มรูปแบบ(ตอนจบ)

6.การใช้ Ichimoku เต็มรูปแบบ(ตอนจบ)


บทสรุปของการใช้ Ichimoku แบบสมบูรณ์

เนื่องจาก Ichimoku มันมีส่วนประกอบย่อยๆหลายเส้น ผมจึงแยกเขียนออกมาเป็นหัวข้อๆ เพื่อให้เพื่อนๆทุกคนได้เข้าใจหลักการณ์ของเส้นแต่ละเส้นของ Ichimoku โดยเขียนไว้ตั้งแต่หัวข้อที่ 1-5 ดังนี้
part 1: หลักการทั่วไปของ Senkou span ใน Ichimoku
part 2: หลักการทั่้วไปของ Tenkan sen ใน Ichimoku
part 3: หลักการทั่วไปของ kijun sen ใน Ichimoku
part 4: หลักการทั่วไปของ Tenkan sen VS. Kijun sen เมื่อสองเส้นนี้มันตัดกัน
part 5: หลักการทั่วไปของ Chinkou span ใน Ichimoku
การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Ichimoku ก่อนอื่นเราต้องจำชื่อแต่ละเส้นให้ได้ก่อนนะครับ ว่ามันมีลักษณะยังไง มีหลักการแบบไหน เมื่อมันอยู่รวมกันเราจะได้วิเคราะห์ถูก ว่าเส้นนี้คือเส้นอะไร มีความสำคัญอย่างไร

เมื่อทุกเส้นมารวมกันจะได้กราฟดังนี้
Ichimoku

การเข้า Buy
1.เมื่อ Tenkan sen ตัด Kijun sen ขึ้นไป แล้วแท่งเทียนยืนอยู่เหนือ เส้นทั้งสอง
2. Tenkan sen , Kijun sen , และแท่งเทียน ต้องอยู่บน Senkou Span (kumo หรือ Cloud)
3. Chinkou span ตัด แท่งเทียนในอดีตขึ้นมา
Ex.1
Ichimokuอีกหนึ่งความลับของ Ichimoku ก็คือ การดูสัญญาณยืนยัน (Confirmation signal ) เราสามารถดูได้จาก เส้น chinkou span
- ราคามีการดีดกลับ จากขาลงกลายเป็นขาขึ้น แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า มันจะขึ้นจริงหรือหลอก จุดสังเกตแรกที่จะสามารถบอกเราได้ว่ามันกำลังจะขึ้นก็คือ * จุดที่ Chinkou span ( Lagging line ) ตัดแท่งเทียน แล้วก็ตัด Senkou span A ขึ้นไป ดังรูป

Ichimoku

จุดยืนยันที่สองคือ Chinkou span ตัด Senkou span B ขึ้นไป ดังรูป
Ichimoku

การเข้า Sell ก็ทำตรงข้ามกับ Buy นะครับ
Ex. การเข้า Sell
Ichimoku

ผมหวังว่าบทความที่ผมได้เขียนคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆชาวเทรดเดอร์ ทุกคนนะครับ


บทความที่ได้รับความนิยม